การเพาะเห็ดในประเทศไทยเริ่มต้นจากการค้นคว้าทดลองของ
อาจารย์ก่าน ชลวิจารณ์ เมื่อปี พ.ศ.
2480 ซึ่งท่านผู้นี้สำเร็จการศึกษามาจากมหาวิทยาลัยเกษตรแห่งฟิลิปปินส์
แนวความคิดในการเพาะเห็ดของท่านเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อได้ไปศึกษาดูงานที่
Bureau of Plant Industry ที่กรุงมะนิลา เพราะระหว่างการดูงานนั้นได้พบกับ
ดร. คลาร่า (Dr. F.M. Clara) ซึ่งเป็นนักโรคพืชวิทยา
กำลังทดลองเพาะเห็ดฟาง โดยการใช้เศษและก้านใบยาสูบ เศษต้นป่านมนิลา ต้นกล้วย กาบกล้วย
รวมทั้งกระสอบป่านเก่า ๆ จากการที่ได้พบเห็นการทดลองดังกล่าวประกอบกับได้มีโอกาสไปดูงานที่ประเทศญี่ปุ่นพบว่าการเพาะเห็ดเป็นอุตสาหกรรมที่ประเทศญี่ปุ่นสามารถท่ารายได้ให้ประเทศปีละหลายร้อยล้านบาท
จากประสบการณ์ดังกล่าวเมื่ออาจารย์ก่าน ชลวิจารณ์ กลับมาประเทศไทยจึงได้บุกเบิก ริเริ่มการทดลองการเพาะเห็ดตั้งแต่ปี
พ.ศ. 2480 เป็นต้นมา ซึ่งขณะนั้นเห็ดที่คนไทยนิยมบริโภคกันมากคือ
เห็ดฟางหรือเห็ดบัว เห็ดโคน เห็ดหูหนู และเห็ดหิ่งห้อย จึงได้ศึกษาทดลองวิธีการเพาะเห็ดดังกล่าว
ในสมัยนั้นมีคนจีนบริเวณตำบลซังอี้ กรุงเทพมหานครได้เพาะเห็ดบัว โดยอาศัยกองขยะมูลฝอย
คือนำฟางข้าวมาปูทับกองขยะแล้ววางลังไม้ฉำฉาซึ่งไม่มีก้นลงบนกองฟาง บางครั้งเห็ดก็ขึ้น
แต่ที่ใดที่เห็ดเคยขึ้นแล้วเห็ดจะไม่ขึ้นอีก นับว่าเป็นการเห็ดโดยอาศัยธรรมชาติ แสดงให้เห็นว่า
เปลือกบัว ฟางข้าว และกองขยะซึ่งให้ความร้อนเป็นสิ่งที่เห็ดบัวชอบ และอาจารย์ก่าน ชลวิจารณ์
ก็ได้อาศัยข้อสังเกตดังกล่าวมาใช้ในการค้นคว้าวิธีเพาะเห็ด ท่านได้ด่าเนินการทดลองเพาะเห็ดโดยแบ่งออกเป็น
3 ขั้นตอน คือ
1. การทดลองเลี้ยงเชื้อเห็ดบริสุทธิ์
(Pure Culture) จากเมล็ดหรือจากเยื่อของดอกเห็ดในอาหารวุ้นชนิดต่าง ๆ
และศึกษาว่าเชื้อเห็ดต้องการอาหารชนิดใด ระดับ pH ของอาหารและอุณหภูมิที่เหมาะสมควรจะเป็นเท่าไร
เห็ดจึงจะเจริญเติบโตได้ดีที่สุด
2. การทดลองทำเชื้อเห็ด
(Spawn) เพื่อให้ได้เห็ดปริมาณมากขึ้นส่าหรับใช้ในการเพาะโดยใช้วัสดุชนิดต่าง
ๆ ที่เห็นว่าเหมาะสมส่าหรับเป็นอาหารของเชื้อเห็ด เช่น เปลือกบัว ฟางข้าว เมล็ดฝ้าย
ใบก้ามปู หญ้าแห้ง ผักตบชวาแห้ง มูลม้าสด และวัสดุอื่น ๆ เท่าที่จะหาได้และมีราคาถูก
จากการทดลองนี้พบว่า เชื้อเห็ดเจริญเติบโตได้ดีที่สุดในมูลม้าสดผสมเปลือกบัวหรือฟางข้าวสับและหมักไว้จนได้ที่
3. การทดลองวิธีการเพาะ
โดยทำการเพาะเห็ดสองแบบ คือ การเพาะเห็ดในลังไม้และการเพาะเห็ดโดยท่าแปลงบนพื้นที่ดินในร่วมและกลางแจ้งโดยใช้ฟางข้าว
ซึ่งวิธีการเพาะเห็ดแบบสร้างแปลงเห็ดด้วยฟางข้าวเป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุด เมื่อการทดลองทำเชื้อเห็ดและการเพาะเห็ดฟางได้ผลแน่นอนเป็นที่พอใจแล้ว
จึงได้นำเอาออกส่งเสริมและเผยแพร่ให้แก่เกษตรกรและประชาชนทั่วไปท่าเชื้อเห็ดหรือเพาะเห็ดเป็นอุตสาหกรรมภายในครอบครัว
จากความสำเร็จครั้งนี้นอกจากจะได้รับความสนใจจากประชาชนทั่วไปแล้ว ชาวต่างประเทศจำนวนมากได้ติดต่อขอค่าแนะน่าและขอซื้อเชื้อเห็ดจากประเทศไทย
จนต้องจัดพิมพ์เอกสารเผยแพร่เป็นภาษาอังกฤษขึ้นเมื่อปี พ.ศ.
2493 ชื่อว่า “Culture of Mushroom in Thailand” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเห็ดฟางหรือเห็ดบัวกลายเป็นเห็ดที่นิยมเพาะกันมากในหมู่เกษตรกรและในขณะเดียวกันความต้องการทางด้านการตลาดก็นับวันจะเพิ่มมากขึ้น
ดังนั้นอาจารย์ก่าน ชลวิจารณ์ จึงได้รับการยอมรับว่าเป็นบุคคลแรกที่ท่าการบุกเบิกและพัฒนาการเพาะเห็ดฟางจนประสบผลสำเร็จในปี
พ.ศ. 2505 แผนกโรคพืช กรมวิชาการเกษตร ได้ทดลองเพาะเห็ดนางรม
โดย อาจารย์พันธุ์ทวี ภักดีแดนดิน โดยความร่วมมือช่วยเหลือของ ดร. บล็อก (Dr. S.S. Block) ปรากฏว่าประสบผลสำเร็จและได้มีการพยายามปรับปรุงพันธุ์เห็ดนางรมในระยะเวลาต่อมาจนประเทศไทยสามารถเพาะเห็ดนางรมได้ตลอดทั้งปีหลังจากนั้นก็ได้ท่าการอบรมเผยแพร่แก่เกษตรกร
จนกระทั่งปี พ.ศ. 2515 จึงได้จัดตั้งชมรมเห็ดขึ้นในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ท่าให้การเพาะเห็ดในประเทศไทยตื่นตัวมากขึ้น
ปี พ.ศ. 2507 มีผู้น่าเอาเห็ดหูหนูจากไต้หวันมาทดลองเพาะที่จังหวัดเพชรบูรณ์เป็นผลสำเร็จ
กรมวิชาการเกษตรโดย ดร. วนิดา แจ้งศรี ได้ท่าการศึกษาและทดลองจนสามารถเพาะและให้ผลผลิตเต็มที่
จึงได้มีการเผยแพร่วิธีการเพาะเห็ดหูหนูแก่เกษตรกร ปี พ.ศ.
2514 บริษัทฟาร์มเอกชนที่จังหวัดล่าปางได้ทดลองเพาะเห็ดแชมปิญองหรือเห็ดฝรั่งจนเป็นผลสำเร็จ
หลังจากนั้นอีกประมาณ 2 ปี ต่อมาอาจารย์นุชนารถ จงเลขา ได้ท่าการวิจัยและเผยแพร่ผลการวิจัยไปสู่เกษตรกรจนเป็นที่แพร่หลายกันในเวลาต่อมา
ปี พ.ศ. 2515 บริษัทสากลได้น่าเห็ดเป๋าฮื้อมาทดลองเพาะเพื่อแปรรูปเป็นเห็ดกระป๋อง
แต่ไม่ได้เผยแพร่เทคนิคการเพาะ แต่ในที่สุดชมรมเห็ด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ศึกษาทดลองเพาะเห็ดเป๋าฮื้อจนเป็นผลสำเร็จ
และส่งเสริมให้เกษตรกรท่าการเพาะเลี้ยง จากอดีตที่ผ่านมาพบว่า ประเทศไทยได้พยายามปรับปรุงและพัฒนาการเพาะเห็ดมานาน
ถึง 52 ปี ซึ่งถ้าเปรียบเทียบความก้าวหน้าทางการเพาะเห็ดระหว่างประเทศต่าง
ๆ ในเอเชียด้วยกันแล้ว ประเทศไทยจะเป็นรองเฉพาะประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น เนื่องจากเทคโนโลยีที่เกษตรกรใช้อยู่นั้น
เป็นเทคโนโลยีขั้นพื้นฐานที่เรียนรู้และยอมรับได้ง่ายเหมาะแก่การถ่ายทอดและน่าไปใช้
ซึ่งมักจะมีข้อจ่ากัดที่ผลผลิตจะเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพดินฟ้าอากาศทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ
จึงท่าให้เกิดปัญหาทางการตลาด เพราะแม้ว่าตลาดเห็ดของไทยจะกว้างขวางมากเพียงใดก็ตาม
แต่ในขณะเดียวกันตลาดทุกประเภทต้องการเห็ดที่มีคุณภาพสูงมากด้วยเช่นกัน
แหล่งผลิตเห็ดที่สำคัญของไทย
จากการรวบรวมสถิติเกี่ยวกับผลผลิตของเห็ดทุกชนิดในประเทศไทยจากแหล่งต่าง
ๆ ทั่วประเทศพบว่าเห็ดที่ผลิตส่วนใหญ่เป็นการผลิตเห็ดฟางมากที่สุด รองลงมาได้แก่ เห็ดนางรม
เห็ดเป๋าฮื้อ เห็ดนางฟ้า เห็ดหูหนู ซึ่งสามารถจำแนกแหล่งผลิตเห็ดที่สำคัญออกได้ดังนี้
คือ
1. เห็ดฟาง
เห็ดฟางมีแหล่งผลิตอยู่ทั่วประเทศ แต่แหล่งผลิตที่สำคัญที่สามารถผลิตเห็ดฟางได้จำนวนมากที่สุดก็คือ
บริเวณพื้นที่ชานเมืองและจังหวัดรอบนอกของกรุงเทพมหานคร เช่น เขตหนองแขม เขตตลิ่งชัน
อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี
อำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งทุกแหล่งดังกล่าวจัดได้ว่าเป็นตลาดผู้ผลิตเห็ดฟางที่ใหญ่ที่สุดของไทยโดยมีกรุงเทพมหานครเป็นตลาดกลาง
และเป็นเมืองท่าส่งเห็ดฟางไปจ่าหน่ายยังต่างประเทศ
2. เห็ดนางรม
เห็ดนางฟ้า และเห็ดนางนวล แหล่งเพาะที่สำคัญส่วนใหญ่อยู่ในบริเวณเดียวกับการเพาะเห็ดฟาง
3. เห็ดเป๋าฮื้อ
แหล่งผลิตเห็ดเป๋าฮื้อที่สำคัญ คือ จังหวัดทางภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย
ล่าปาง และจังหวัดรอบนอกกรุงเทพมหานคร เช่น อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม อำเภอกระทุ่มแบน
จังหวัดสมุทรสาคร เป็นต้น
4. เห็ดแชมปิญอง
หรืออาจเรียกได้อีก 2 ชื่อว่า เห็ดฝรั่งหรือเห็ดกระดุม มีแหล่งผลิตที่สำคัญ
คือ จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดล่าปาง และกรุงเทพมหานคร
5. เห็ดหูหนู
แหล่งผลิตกระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย แต่ส่วนใหญ่ผลิตเป็นรายย่อยเท่านั้น
6. เห็ดหอม เป็นเห็ดที่มีราคาแพงและชอบอากาศหนาวเย็น แหล่งเพาะเห็ดหอมที่สำคัญ
คือ จังหวัดทางภาคเหนือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดล่าปาง แต่ในปัจจุบันมีผู้น่าเอามาปลูกในภาคกลางได้สำเร็จโดยกำหนดระยะเวลาปลูกให้เห็ดหอมออกดอกในช่วงฤดูหนาว
และได้ดัดแปลงวัสดุที่ใช้ปลูกบนไม้ก่อ มาปลูกในถุงขี้เลื่อยไม้ยางซึ่งปรากฏว่าได้ผลผลิตดีใกล้เคียงกับเห็ดหอมที่ปลูกในภาคเหนือ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น