ความสำคัญของเห็ดที่มีต่อชีวิตประจำวัน
มนุษย์ทั่วโลกรู้จักเห็ดมานาน ทั้งประเภทที่น่ามาใช้เป็นอาหารและประเภทที่มีพิษ
สายพันธุ์ของเห็ดมีมากกว่า 30,000 สายพันธุ์ กระจัดกระจายอยู่ทั่วโลก ในจำนวนสายพันธุ์ดังกล่าวมีถึงร้อยละ
99 สายพันธุ์ ที่มนุษย์สามารถน่ามาบริโภคเป็นอาหารได้ ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ
1 เป็นเห็ดที่มีพิษหรือเห็ดเมา ซึ่งถ้าบริโภคเข้าไปอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
เห็ดที่น่ามาบริโภคเป็นอาหารในอดีตนั้นมีเพียงไม่กี่ชนิด เช่น เห็ดฝรั่งหรือเห็ดแชมปิญอง
ซึ่งนิยมบริโภคกันมากในแถบยุโรป เห็ดหอมเป็นเห็ดที่ชาวจีนนิยมบริโภคกันมากที่สุด ส่วนคนไทยนั้นนิยมบริโภคเห็ดโคนหรือเห็ดฟาง
แต่เนื่องจากเมื่อน่าเห็ดมาประกอบอาหารแล้วมีรสชาติดี ให้คุณค่าทางอาหารสูงและเห็ดบางชนิดยังมีสรรพคุณเป็นยาป้องกันและรักษาโรคได้อีกด้วย
จึงท่าให้มีผู้นิยมบริโภค กันมากขึ้นตามล่าดับ ซึ่งในปัจจุบันพบว่าหลาย ๆ ประเทศเกือบทั่วโลกหันมาให้ความสนใจและร่วมมือกันในการวิจัย
ค้นคว้า ทดลอง คัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์เห็ดให้มีจำนวนมากขึ้นในขณะ เดียวกันก็ได้พัฒนาเทคนิควิธีการเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์เห็ดเพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตให้เพียงพอกับความต้องการของผู้บริโภค
ประเทศที่มีการผลิตเห็ดเป็นจำนวนมากและส่งไปจ่าหน่ายยังตลาดโลกได้แก่ ประเทศไต้หวัน
ญี่ปุ่น อินเดีย เกาหลี และประเทศไทย ส่าหรับประเทศไทยนั้น นอกจากจะนิยมบริโภคเห็ดกันมากแล้ว
ยังได้ให้ความสำคัญแก่เห็ดมากจนเห็ดกลายเป็นอาหารที่มีคุณค่าสูงเทียบเคียงกับเนื้อสัตว์
ดังจะเห็นได้จากค่ากล่าวที่ติดปากคนไทยมาช้านานว่า “หมู เห็ด
เป็ด ไก่ เป็นอาหารส่าหรับผู้ที่มีอันจะกิน” ซึ่งแสดงให้เห็นว่า
เห็ดเป็นอาหารที่คนทั่วไปยอมรับมาช้านานแล้ว ในเรื่องของรสชาติและคุณค่าทางอาหาร ซึ่งสามารถแบ่งความสำคัญของเห็ดที่มีต่อชีวิตประจ่าวันได้ดังนี้
1. คุณค่าทางอาหารของเห็ด
จากการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับคุณค่าทางอาหารของเห็ดโดยกรมวิทยาศาสตร์พบว่า เห็ดประกอบด้วยสารอาหารที่มีคุณค่าและคุณประโยชน์ต่อร่างกายในปริมาณที่สูงกว่าพืชผักชนิดอื่น
ๆ ยกเว้นพืชผักตระกูลถั่ว ซึ่งเห็ดที่มีจ่าหน่ายในท้องตลาดทั่วไป เช่น เห็ดฟาง เห็ดหูหนู
เห็ดนางรม เห็ดเป๋าฮื้อ และเห็ดนางฟ้า เมื่อน่าวิเคราะห์จะพบว่าประกอบด้วยสารอาหารพวกคาร์โบไฮเดรต
โปรตีน ไขมัน แร่ธาตุต่าง ๆ และวิตามิน ในปริมาณที่แตกต่างกัน และพบว่า เห็ดหูหนูบางชนิดมีปริมาณสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายสูงสุด
และจากการวิจัยของหน่วยงาน วิจัยอุตสาหกรรมการเพาะเห็ดแห่งสหรัฐอเมริกา
(America Mushroom Industry Research) พบว่าเห็ดที่นิยมบริโภคโดยทั่วไปจะประกอบด้วยวิตามินหลายชนิด
เช่น ไทอามีน ไรโบฟลาวิน ไนอาซีน และวิตามินซี ส่วนวิตามินบี 12 จะพบเฉพาะในเห็ดเป๋าฮื้อเท่านั้น ส่วนแร่ธาตุต่าง ๆ ที่พบในเห็ดทั่วไปได้แก่
ธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัส และแคลเซียม แต่ในเห็ดเป๋าฮื้อจะมีธาตุแมกนีเซียมและโพแทสเซียม
เป็นองค์ประกอบอยู่ด้วย จากชนิดของสารอาหารที่พบในเห็ดดังกล่าวข้างต้น ย่อมพิสูจน์ได้ว่าเห็ดเป็นอาหารที่มีคุณค่าเทียบเท่าเนื้อสัตว์จริงตามค่ากล่าวที่ติดปากคนไทยมาแต่โบราณกาล
ในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน ราคาอาหารประเภทเนื้อสัตว์ค่อนข้างสูงมาก เมื่อเปรียบเทียบกับอาหารที่เป็นผลผลิตจากพืช
ดังนั้น เพื่อเป็นการปรับตัวให้เข้ากับภาวะเศรษฐกิจจึงควรเลือกบริโภคพืชผักที่มีคุณค่าทางอาหาร สูงทดแทนเนื้อสัตว์บางตามความเหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งพืชประเภทเห็ดซึ่งมีสารโปรตีนสูง
และโปรตีนของเห็ดจะไม่มีสารคอเรสเตอรอลที่เป็นอันตรายต่อระบบไหลเวียนของโลหิต ประกอบกับเห็ดมีปริมาณธาตุโซเดียมค่อนข้างต่ำจึงเป็นอาหารที่เหมาะส่าหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคตับ
โรคไต โรคหัวใจ และโรคความดันโลหิตสูง นอกจากนี้อาหารประเภทเห็ดยังนิยมบริโภคกันมากในหมู่นักปฏิบัติมังสวิรัติ (Vegetarian) รวมไปถึงผู้ที่ต้องการลดความอ้วน ผู้ป่วยหลังพักฟื้นหรือผู้ต้องการบำรุงร่างกาย
และที่สำคัญที่สุดก็คือ มีเห็ดบางชนิดที่สามารถป้องกันและรักษาโรคบางอย่างได้
2. สรรพคุณทางยาของเห็ด
เมื่อประมาณ 20 ปีล่วงมาแล้วที่นักวิจัยเห็ดและนักการเพาะเห็ด
ได้ค้นพบสรรพคุณทางยาของเห็ดหลายชนิด เช่น เห็ดหอม เห็ดฝรั่ง เห็ดหลินจือ เป็นต้น ว่าสามารถน่าไปใช้เป็นยาธรรมชาติในการป้องกันและบ่าบัดโรคการสะสมไขมันในหลอดเลือด
โรคความดันโลหิต และโรคมะเร็งได้อย่างปลอดภัยและได้ผล อีกทั้งยังมี สารเรทีน
(Retine) ซึ่งมีคุณสมบัติต่อต้านและชะลอการเติบโตของเนื้องอกในร่างกายได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งเห็ดหลินจือ
ได้ชื่อว่าเป็นเห็ดวิเศษส่าหรับชาวจีนและชาวญี่ปุ่นมาช้านาน เนื่องจากมีความเชื่อว่าสามารถป้องกันและบ่าบัดโรคได้หลายชนิด
ในปี พ.ศ. 2530 มีการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับคุณสมบัติของเห็ดหลินจือในประเทศไทยขึ้นอย่างแพร่หลายและขยายวงกว้างขึ้นโดยกรมวิชาการเกษตรร่วมกับสมาคมนักวิจัยการเพาะเห็ดแห่งประเทศไทยภายใต้การสนับสนุน
ด้านวิชาการของรัฐบาลญี่ปุ่น ท่าให้วงการแพทย์ในประเทศไทยและประเทศแถบตะวันออกอื่น
ๆ ยอมรับเห็ดหลินจือว่าเป็นยาสมุนไพรที่มีผลต่อการบ่าบัดรักษาโรคได้หลายชนิด เช่น โรคความดันโลหิตผิดปกติ
โรคบวมน้ำโรคมะเร็ง โรคตับ โรคภูมิแพ้ โรคเบาหวาน โรคกระเพาะและล่าไส้ โรคประสาท เป็นต้น
ในปัจจุบันประเทศญี่ปุ่น ได้นำเอาดอกเห็ดหลินจือที่เจริญเติบโตเต็มที่มาสกัดเป็นหลินจือผง
เป็นเครื่องดื่มบำรุงรักษาและส่งเสริมสุขภาพ ส่าหรับประเทศไทยก็มีผู้ยอมรับเห็ดหลินจือกันมากขึ้น
และเชื่อว่าอีกไม่นานคงมีผลิตภัณฑ์จากเห็ดหลินจือออกมาจ่าหน่ายเช่นเดียวกับประเทศญี่ปุ่น
ส่วนเห็ดชนิดอื่น ๆ เช่น เห็ดหอม เห็ดนางฟ้า เห็ดหูหนู เห็ดฟาง ถึงแม้ว่าจะมีสรรพคุณทางป้องกันและบ่าบัดโรคได้น้อยกว่าเห็ดหลินจือก็ตาม
แต่เห็ดทุกชนิดดังกล่าวก็มีคุณค่าทางอาหารสูง ซึ่งหากร่างกายได้รับครบถ้วนจะสามารถสร้างความต้านทานโรคได้ดีเช่นเดียวกัน
ความสำคัญของเห็ดที่มีต่อเศรษฐกิจของประเทศ
ประเทศไทยนับได้ว่ามีสภาพเหมาะสมและเอื้ออ่านวยต่อการเพาะเห็ดอย่างมาก
เนื่องจากมีวัสดุเหลือใช้และมีผลพลอยได้จากการผลิตทางการเกษตรจำนวนมากทั้งที่ได้จากพืชและสัตว์
รวมไปถึงวัชพืชบางชนิดที่มีอยู่ทั่วไปในประเทศไทย เช่น ผักตบชวาและหญ้าคา เป็นต้น
ส่วนวัสดุเหลือใช้และผลพลอยได้จากการเกษตรที่สามารถน่ามาใช้ในการเพาะเห็ดได้
เช่น ฟางข้าว ต้นกล้วย ชานอ้อย ต้นข้าวโพด ซังข้าวโพด เปลือกถั่วเขียว กากน้ำตาล ปุ๋ยหมัก
มูลไก่ มูลเป็ด มูลม้า และมูลโค เป็นต้น ซึ่งวัสดุเหล่านี้สามารถน่าไปดัดแปลงและปรับปรุงใช้ในการเพาะเห็ดชนิดต่าง
ๆ ได้ตามความเหมาะสม นอกจากนั้นสภาพดินฟ้าอากาศของประเทศไทยยังเหมาะกับการเจริญเติบโตของเห็ดเศรษฐกิจเกือบทุกชนิด
อาทิเช่น เห็ดฟาง เห็ดนางรม เห็ดเป๋าฮื้อ เห็ดหูหนู รวมไปถึงเห็ดแชมปิญอง และเห็ดหอม
ก็สามารถปลูกได้ดีในบางท้องถิ่นของประเทศไทย ดังนั้น ถ้าได้มีการส่งเสริมให้เกษตรกรไทยได้รู้จักการเพาะเลี้ยงเห็ดที่ถูกวิธี
นอกจากจะท่าให้มีผลผลิตเห็ดเพิ่มขึ้นทั้งด้านปริมาณและคุณภาพแล้วยังเป็นการเพิ่มอาหารที่มีคุณค่าแก่ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ
ท่าให้มีคุณค่าสุขภาพพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรง พร้อมที่จะพัฒนาประเทศชาติได้ในทุกทางโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านเศรษฐกิจ
เพราะเมื่อผลผลิตเห็ดเพิ่มขึ้นรายได้ของเกษตรกรก็จะเพิ่มขึ้นด้วย จากการจ่าหน่ายผลผลิตทั้งในประเทศและส่งเป็นสินค้าออก
ซึ่งเป็นผลให้ระบบเศรษฐกิจของชาติเจริญก้าวหน้าและพัฒนาขึ้นตามล่าดับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น