ประเทศต่าง
ๆ กว่า 70 ประเทศทั่วโลก ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการเพาะเห็ด
เป็นอย่างมาก เห็ดที่นิยมเพาะกันมากมีอยู่ 8 ชนิดด้วยกันคือ เห็ดแชมปิญอง เห็ดหอม เห็ดหูหนู
เห็ดฟาง เห็ดนางรม เห็ดหูหนูขาว เห็ดเข็มทอง และเห็นนามิโกะ นอกจากเห็ดทั้ง
8 ชนิดดังกล่าวแล้วยังมีเห็ดอื่น ๆ อีก เช่น เห็ดเป๋าฮื้อ เห็ดนางฟ้า
เห็ดตีนแรด เห็ดหลินจือ เป็นต้น แต่นิยมปลูกกันมากเฉพาะบางประเทศเท่านั้น และจำนวนการผลิตเห็ดทุกประเทศทั่วโลกตั้งแต่ปี
พ.ศ. 2522 เป็นต้นมา เห็ดฝรั่งหรือเห็ดแชมปิญองมีปริมาณการผลิตสูงสุด
ปริมาณร้อยละ 78 ของจำนวนผลผลิตเห็ดทั้งหมดในตลาดโลก จากจำนวนประเทศผู้ผลิตเห็ดทั่วโลกพบว่า
ประเทศต่าง ๆ ที่มีการพัฒนาเทคนิค วิธีการ และระบบการเพาะเห็ดที่สำคัญจนเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปมีเพียง
5 ประเทศเท่านั้นคือ
1. ประเทศจีน
(ไต้หวัน) เป็นประเทศที่ผลิต
เห็ดแชมปิญองหรือเห็ดฝรั่ง ได้มากเป็นอันดับที่สามของโลก แต่สามารถส่งจ่าหน่ายได้เป็นอันดับที่หนึ่งของโลก
โดยประเทศจีนผลิตได้ประมาณร้อยละ 95 และส่งเป็นสินค้าออก การพัฒนาการเพาะเห็ดของไต้หวัน
นับได้ว่าเจริญรุดหน้ารวดเร็วกว่าประเทศอื่น ๆ เนื่องจากมีการวางแผนการผลิตที่ดี โดยหาข้อมูลความต้องการเห็ดชนิดต่าง
ๆ ของต่างประเทศจากทูตพาณิชย์ จึงท่าให้ไม่มีปัญหาเรื่องการตลาด ในขณะเดียวกัน ภาครัฐบาลและภาคเอกชนก็ร่วมมือประสานงานกันอย่าเต็มที่ในการควบคุมการผลิตและการส่งเสริมความรู้ทางด้านการเพาะเห็ดให้แก่เกษตรกรผู้ผลิตโดยพยายามสนับสนุนให้น่าเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการเพิ่มผลผลิตเพื่อลดต้นทุนการผลิตด้านการโฆษณาประชาสัมพันธ์ก็ได้รับความช่วยเหลือจากเอกชนอย่างเต็มที่
โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทการท่องเที่ยวได้ส่งเสริมประชาสัมพันธ์ด้วยการจัดท่า อาหารประเภทเห็ดให้นักท่อนเที่ยวได้รับประทานทุกมื้อ
จึงท่าให้การพัฒนาการเพาะเห็ดของไต้หวันพัฒนาได้เร็วกว่าประเทศอื่น ๆ ในแถบเอเชีย
2. ประเทศญี่ปุ่น การเพาะเห็ดในประเทศญี่ปุ่นได้ตื่นตัวในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
ซึ่งก่อนหน้านี้เกษตรกรจะหาเห็ดหอมจากป่าบริเวณที่มีไม้ก่อขึ้นอยู่มากมาย
ท่าให้ทรัพยากรธรรมชาติส่วนมากถูกท่าลาย ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ปัญหาดังกล่าวทางรัฐบาลจึงอนุญาตให้ผู้เพาะเห็ดมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินเพื่อใช้ปลูกไม้ก่อสานส่าหรับเพาะเห็ดหอม
พร้อมทั้งส่งเสริมการค้นคว้าวิจัย เพื่อน่าเทคนิคต่าง ๆ มาใช้ในการเพิ่มผลผลิตเห็ด
จนท่าให้ญี่ปุ่นสามารถผลิต เห็ดหอม ได้มากและส่งเป็นสินค้าออกเป็นอันดับหนึ่งของโลก
3. ประเทศเกาหลีใต้ เกาหลีได้เริ่มพัฒนาการเพาะเห็ดเมื่อปี พ.ศ. 2515 โดยรัฐบาลได้จ้างผู้เชี่ยวชาญการเพาะเห็ดจากประเทศไต้หวันจำนวน
2 คน ให้ความรู้แก่นักวิชาการชาวเกาหลี พร้อมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนอย่างจริงจังทั้งด้านบุคลากรและงบประมาณ
จงท่าให้เกาหลีใต้ใช้เวลาในการพัฒนาการเพาะเห็ดเพียง 6 ปี ก็สามารถกลายเป็นประเทศคู่แข่งที่สำคัญของไต้หวันในการส่ง
เห็ดแชมปิญองและเห็ดหอม เป็นสินค้าออก
4. ประเทศอินเดีย เป็นประเทศเดียวในแถบเอเชียที่ตื่นตัวช้าที่สุดในการพัฒนาการเพาะเห็ด
เนื่องจากความเชื่อถือที่ถูกปลูกฝังมาตั้งแต่ในอดีตว่า เห็ดเป็นดอกไม้มูลสัตว์จึงท่าให้พลเมืองของอินเดียในอดีตรังเกียจเห็ดเป็นอย่างมากท่าให้ขาดนักวิชาการการเพาะเห็ด
แต่ด้วยความช่วยเหลือและรณรงค์ขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติหรือ F.A.O. ได้รณรงค์การเพาะเห็ดเพื่อให้สถาบันดังกล่าวเป็นผู้ผลิตเชื้อเห็ดและปุ๋ยหมักและให้เกษตรกรหรือสมาชิกของสถาบันน่าไปเพาะ
เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วให้น่าผลผลิตมารวมกันเพื่อจ่าหน่ายโดยมีเจ้าหน้าที่ของสถาบันคอยดูแลอย่างใกล้ชิด
ซึ่งในปัจจุบันชาวอินเดียจำนวนมากหันมาบริโภคเห็ด เห็ดที่เพาะกันมากในอินเดีย คือ เห็ดนางรม
และเห็ดนางนวล
5. ประเทศไทย ในปัจจุบันประเทศไทยมีการปรับปรุงและพัฒนาการเพาะเห็ดไปมาก
จนกลายเป็นอาชีพหลักที่สำคัญของเกษตรกรอาชีพหนึ่ง ถ้าจะเปรียบเทียบกับประเทศในภูมิภาคเอเชียแล้ว
ประเทศไทยจัดอยู่ในระดับแนวหน้า จะเป็นรองอยู่บ้างก็แต่ประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น จำนวนเห็ดที่ผลิตได้สูงสุดในแต่ละปีคือ
เห็ดฟาง ส่วนเห็ดที่ผลิตได้น้อยและน้อยมาก คือเห็ดแชมปิญอง และเห็ดหอม โดยมีสาเหตุมาจากฤดูกาล
และวัสดุที่ใช้เพาะ ซึ่งเรายังไม่สามารถควบคุม ปรับปรุงและดัดแปลงให้เหมาะสมได้ตลอดทั้งปี
แต่อย่างไรก็ตามอาชีพการเพาะเห็ดเป็นอีกอาชีพหนึ่งที่สามารถท่ารายได้ให้ประเทศชาติปีละไม่น้อยกว่า 1,200 ล้านบาท และมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นเรื่อย ๆ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2530 นับเป็นปีทองของเห็ดไทยเพราะตลาดต่างประเทศ มีความต้องการเห็ดไทยทุกชนิดเพิ่มขึ้น
เนื่องจากคุณภาพของเห็ดของประเทศไทยได้รับการพัฒนา ขึ้นจนเป็นที่ยอมรับของตลาดโลก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น